ผลงานป้ายความปลอดภัย หรือป้ายเซฟตี้ของเรา

Visual Portfolio, Posts & Image Gallery for WordPress

สีและเครื่องหมายความปลอดภัย

ตารางที่ 1 : สีเพื่อความปลอดภัย และสีตัด

สีเพื่อความปลอดภัย

ความหมาย

ตัวอย่างการใช้งาน

สีตัด

หยุด

เครื่องหมายหยุด เครื่องหมายอุปกรณ์หยุดฉุกเฉิน เครื่องหมายห้าม

สีขาว

บังคับให้ต้องปฏิบัติ

บังคับให้ต้องสวมเครื่องป้องกันส่วนบุคคล เครื่องหมายบังคับ

สีขาว

แสดงสภาวะปลอดภัย

ทางหนีไฟ
ทางออกฉุกเฉิน
ฝักบัวชำระล้างฉุกเฉิน
หน่วยปฐมพยาบาล
หน่วยกู้กัย
เครื่องหมายสารนิเทศแสดงสภาวะประกอบด้วย

สีขาว

ระวังมีอันตราย

ชี้บ่งว่าอันตราย(เช่น ไฟ, วัตถุระเบิด, กัมมัตภาพรังสี, วัตถุมีพิษ และอื่นๆ)
ชี้บ่งถึงเขตอันตราย, ทางผ่านที่มีอันตราย, เครื่องกีดขวาง, เครื่องหมายเตือน

สีดำ

หมายเหตุ :

      1. สีแดงยังใช้สำหรับอุปกรณ์เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย อุปกรณ์ดับเพลิง และตำแหน่งที่ตั้งอีกด้วย
      2. อาจใช้สีแดงส้มวาวแสงแทนสีเหลืองได้ แต่ไม่ให้ใช้แทนสีเหลืองกับเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยตามตารางที่ 2 สีแดงส้มวาวแสงนี้มองเห็นเด่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่มืดมัว

ตัวอย่างการใช้สีเพิ่อความปลอดภัยและสีตัด หมายเหตุ: พื้นที่ของสีเหลืองต้องมีอย่างน้อยร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมดของเครื่องหมาย รูปแบบเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย
      1. รูปแบบเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย และสีที่ใช้แบ่งเป็น 4 ประเภทตามจุดประสงค์ของการแสดงเครื่องหมายตามตารางที่ 2
      2. ให้แสดงสัญลักษณ์ภาพไว้ตรงกลางของเครื่องหมาย โดยไม่ทับแทบขวางสำหรับเครื่องหมายห้าม
      3. ในกรณีที่ไม่มีสัญลักษณ์ภาพที่เหมาะสมสำหรับสื่อความหมายที่ต้องการ ให้ใช้เครื่องหมายทั่วไปสำหรับเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยของแต่ละประเภท ร่วมกับเครื่องหมายเสริม

ตารางที่ 2 : รูปแบบของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย

ประเภท

รูปแบบ

สีที่ใช้

หมายเหตุ

เครื่องหมายห้าม

สีพื้น : สีขาว
สีของแถบตามขอบวงกลม และแถบขวาง : สีแดง
สีของสัญลักษณ์ภาพ : สีดำ

พื้นที่ของสีแดงต้องมีอย่างน้อยร้อยละ 35 ของพื้นที่ทั้งหมดของเครื่องหมาย

เครื่องหมายบังคับ

สีพื้น : สีฟ้า
สีของสัญลักษณ์ภาพ : สีขาว

พื้นที่ของสีฟ้าต้องมีอย่างน้อยร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมดของเครื่องหมาย

เครื่องหมายสารนิเทศเกี่ยวกับสภาวะปลอดภัย

สีพื้น : สีเขียว
สีของแถบตามขอบ : สีขาว

พื้นที่ของสีเขียวต้องมีอย่างน้อยร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมดของเครื่องหมาย
อาจใช้รูปแบบเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าได้

เครื่องหมายเตือน

สีพื้น : สีเหลือง
สีของแถบตามขอบ : สีดำ
สีของสัญลักษณ์ภาพ : สีดำ

พื้นที่ของสีเหลืองต้องมีอย่างน้อยร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมดของเครื่องหมาย

เครื่องหมายเสริม

      1. รูปแบบของเครื่องหมายเสริม เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมจตุรัส
      2.  สีพื้นให้ใช้สีเดียวกับสีเพื่อความปลอดภัย และสีของข้อความให้ใช้สีตัดดังที่กำหนดไว้ในตารางที่ 1 หรือสีของพื้นให้ใช้สีขาว และสีของข้อความให้ใช้สีดำ
      3. ตัวอักษรที่ใช้ในข้อความ ช่องไฟระหว่างตัวอักษรต้องไม่แตกต่างกันมากกว่าร้อยละ 10 / ลักษณะของตัวอักษรต้องดูเรียบง่าย ไม่เขียนแรงเงา หรือลวดลาย / ความกว้างของตัวอักษรต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของความสูงของตัวอักษร
      4. ให้แสดงเครื่องหมายเสริมไว้ใต้เครื่่องหมายเพื่อความปลอดภัย
        หมายเหตุ : ตารางที่ 1, 2 อ้างอิงจากมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, มอก. 635 เล่ม 1 ถึง 2-2529, สีและเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย, สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม, กระทรวงอุตสาหกรรม

ขนาดของเครื่องหมายความปลอดภัย

ตารางที่ 3 : ขนาดของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย และตัวอักษรที่ใช้ในเครื่องหมายเสริม

ความสูงพิกัดของแผ่นเครื่องหมาย (a)
เส้นผ่านศูนย์กลาง หรือความสูงของ เครื่องหมาย (b)
ความสูงของตัวอักษรในเครื่องหมายเสริม
75
60
5.5
100
80
6.6
150
120
10.0
225
180
15.0
300
240
20.0
600
480
40.0
750
600
50.0
900
720
60.0
1200
960
80.0

ความไวในปฏิกริยา

4-ระเบิดได้
3-ความร้อนและการกระแทกอาจเกิดระเบิด
2-ปฏิกิริยาเคมีรุนแรง
1-ไม่เสถียรถ้าโดนความร้อน
0-เสถียร

ความไวไฟ

จุดวาบไฟ
4-ต่ำกว่า 22องศาเซลเซียส
3-ต่ำกว่า 38องศาเซลเซียส
2-ต่ำกว่า 93องศาเซลเซียส
1-สูงกว่า 93องศาเซลเซียส
0-ไม่ติดไฟ

ข้อมูลพิเศษ

OXY-ออกซิไดซ์
ACID-กรด
COR-กัดกร่อน
ALK-ด่าง
NoWater-ห้ามผสมน้ำ

สุขภาพ

4-อันตรายถึงตาย
3-อันตรายสูง
2-อันตราย
1-อันตรายน้อย
0-ปลอดภัย